วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์เซรามิกต้นทุนต่ำโดยได้ประสิทธิผลสูงสุด







โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์เซรามิกต้นทุนต่ำโดยได้ประสิทธิผลสูงสุด: การสร้างสรรค์เซรามิกเพื่อลดต้นทุนและการใช้พลังงานทดแทน

จัดขึ้นที่ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2554




๑. หลักการและเหตุผล
การทำงานเซรามิกหรือเครื่องปั้นดินเผาในปัจจุบันมีรูปแบบที่หลากหลายด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ วัตถุดิบ และ กรรมวิธีการผลิตผลงานเซรามิก สิ่งเหล่านี้ล้วนได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของท้องตลาด และ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกให้มีประสิทธิผลสูงสุดโดยมีต้นทุนการผลิตน้อยที่สุด จำเป็นจะต้องใช้เทคโนโลยีทางการผลิตขั้นสูงและใช้เงินลงทุนมากและการที่จะสามารถดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกที่มีคุณภาพสูงแต่ใช้ต้นทุนการ ผลิตต่ำนี้ มักจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีทุนดำเนินการ และทางภาครัฐรวมถึงเอกชนก็ให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นอย่างดี หากแต่ยังมีผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกขนาดกลางและผู้ประกอบการรายย่อยอื่นๆ รวมไปถึงศิลปินอิสระที่ผลิตผลงานเซรามิก ต่างก็มีความต้องการและสนใจในการผลิตผลงานเซรามิกที่ใช้ ต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผลสูงสุดและสามารถใช้พลังงานทดแทนในกระบวนการผลิต ปัจจุบันราคาต้นทุนของวัตถุดิบ เกี่ยวกับเซรามิกได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้ผลงานเซรามิกของไทยที่จำหน่ายตามท้องตลาดมีราคาสูงขึ้น หาก ผู้ประกอบการหรือศิลปินเซรามิกสามารถสร้างสรรค์พัฒนาผลงานที่สามารถลดต้นทุนลงได้แต่ยังคงไว้ซึ่งประสิทธิผล อันสูงสุด อีกทั้งสามารถผลิตได้ตามจำนวนที่ต้องการ โดยใช้เวลาน้อย และผลงานที่ได้มีความสวยงามและผลงานมี ข้อบกพร่องน้อยที่สุด ย่อมจะทำให้เกิดคุณประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การค้าภายในประเทศและ ต่างประเทศ และที่สำคัญอย่างยิ่งจะเป็นผลดีต่อวงการเซรามิกในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง








๒. วัตถุประสงค์ของโครงการ




๑. เพื่อค้นคว้าทดลองผลงานเซรามิกที่พัฒนารูปแบบใหม่โดยใช้ระยะเวลาและพลังงานน้อย
๒. เพื่อรวบรวมข้อมูลวิธีการและเทคนิคในการพัฒนาผลงานเซรามิกที่ใช้ต้นทุนต่ำแต่มีประสิทธิผลสูง
๓. เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการ นักเรียนนักศึกษา ศิลปิน และผู้ที่
สนใจเกี่ยวกับเซรามิก เพื่อนำไปสู่แนวทางในการแก้ไขและก้าวพัฒนาวงการเซรามิก ต่อไปในอนาคตได้
๔. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ อาจารย์ นักเรียนนักศึกษา ศิลปิน และผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์เซรามิกได้มีโอกาส แสดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานการออกแบบเซรามิก และเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาในด้านการลดต้นทุนและเกิดประสิทธิผลสูงสุดได้










พิธีเปิด โดยรศ สุรพล วิรุฬรักษ์










































วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง วัดนาหนอง จังหวัดราชบุรี

ในช่วงภาคฤดูร้อน ของปีการศึกษา 2553 อ.พัชรี รัตนพันธ์ุ ได้ให้บริการวิชาการแก่ สถาบันคีนันแห่งเอเซีย (K.I.Asia) และมูลนิธิซิตี้และธนาคารซิตี้แบงก์ ในการไปช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองวัดนาหนอง จังหวัดราชบุรี โดยมี นางสาวสุชาดา เจริญฤทธิ์ (มิ้ม) และนางสาวภัททิรา แดงเสนาะ (นิว) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เข้าร่วมโครงการในรูปแบบของการฝึกงานภาคฤดูร้อน ในครั้งนี้ด้วย


















สรุป และประเมินผลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการฝึกอบรม

     ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง

     1. ผ้าทอพื้นเมืองของวัดนาหนอง ที่มีชื่อเสียง และมีความเป็นเอกลักษณ์ คือ ผ้าจกที่มีการจกลายทั้งผืน มีความปราณีต จึงต้องใช้เวลาในการทอ ทำให้ผ้าทอประเภทนี้มีราคาสูง ซึ่งหากนำมาเป็นวัสดุในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีราคาที่สูงขึ้นไปด้วย เกิดเป็นอุปสรรคในการจำหน่าย
     2. ด้วยสาเหตุในข้อ 1 จึงไม่ควรนำผ้าจกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋าชายหาด
     3. ในการเลือกผ้าทอลายมาใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ควรสร้างความแตกต่างจากลวดลายที่เป็นเพียงลายเส้นให้เกิดเป็นลวดลายใหม่ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นได้โดยการทอผ้าตามปกติ จึงทำให้ผลิตภัณฑ์มีความเป็นเอกลักษณ์ขึ้นมา
     4. เทคนิควิธีการออกแบบ และต่อลวดลายผ้าทอลายเหล่านี้ สามารถใช้เป็นแนวทางให้สมาชิกกลุ่มฯ พัฒนาต่อยอดรูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอให้มีความหลายหลาย และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว


     ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบการฝึกงานของนักศึกษา



     1. นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองในครั้งนี้ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขา
วิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งการเรียนในหลักสูตรนั้นไม่มีการสอนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ผ้าเป็นวัสดุ แต่อาศัยความสนใจ และความ สามารถเฉพาะตัวของนักศึกษา จึงนับเป็นความรู้ใหม่ที่นักศึกษาได้รับ
     2. นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้เรียนรู้การทำงานจริง นับตั้งแต่ การประสานงาน การศึกษาและรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์เพื่อการออกแบบ การสร้างแบบเพื่อการตัดเย็บ การตัดเย็บผลิตภัณฑ์ การแก้ปัญหาด้านการผลิต การนำเสนอผลงาน ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่น
     3. นอกจากประสบการณ์ตรงแล้ว นักศึกษายังได้รับความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการทอผ้าพื้นเมือง การจกลาย และลักษณะของลายมากขึ้น
     4. ในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ นักศึกษาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความรับผิดชอบ และการตรงต่อเวลามากขึ้น
     5. นักศึกษามีจิตสาธารณะ และจิตสำนึกในการนำวัสดุมาใช้อย่างคุ่มค่า
     6. รู้จักการวางแผนงาน และทำงานเป็นระบบ


     ด้านการฝึกอบรมสมาชิกกลุ่มหัตถกรรมผ้าทอพื้นเมือง วัดนาหนอง

     1. กลุ่มผู้เข้าอบรมให้ความร่วมมือในการเข้ารับการอบรมเป็นอย่างดี
     2. กลุ่มผู้เข้าอบรมมีความเป็นกันเองกับวิทยากร เป็นผู้ฟังที่ดี กล้าคิด กล้าทำ และยอมรับคำติชม
     3. กลุ่มผู้เข้าอบรมมีความตั้งใจจริงในการปฏิบัติงาน ไม่ย่อท้อต่อการแก้ไขงานใหม่ในกรณีที่เกิดความผิดพลาด หรือไม่เรียบร้อย 

     4. กลุ่มผู้เข้าอบรมมีความภูมิใจในผลงานของตนเอง และพร้อมยอมรับข้อผิดพลาดในการทำงาน
     5. กลุ่มผู้เข้าอบรมมีประสบการณ์ และความรู้ด้านการออกแบบ และการตัดเย็บมากขึ้น




สรุปปัญหาในการดำเนินงาน
   
     1. ในการฝึกอบรมมีจักรเย็บผ้าที่เพียงพอสำหรับทุกกลุ่ม แต่สมาชิกส่วนใหญ่เย็บผ้าไม่เป็น และไม่คุ้นเคยกับจักรที่เตรียมไว้ให้
     2. ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ไม่มีพื้นฐานในเรื่องการตัดเย็บในทุกขั้นตอน จึงทำให้หลายคนไม่สามารถเรียนรู้ในระดับนี้ได้ดีเท่าที่ควร
     3. เนื่องจากระยะเวลาในการอบรมมีเพียง 2 วัน ทำให้ทุกกลุ่มฯ ไม่สามารถฝึกการออกแบบวางลวดลาย และตัดเย็บได้ครบทั้ง 6 ชนิด 
     4. เอกสารประกอบการอบรม แสดงให้เห็นขั้นตอนการตัดเย็บผลิตภัณฑ์ทุกชนิดอย่างชัดเจน แต่ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน จึงไม่สามารถศึกษาวิธีการต่างๆ จากเอกสารให้เข้าใจได้ ทำให้เสียเวลาในการอธิบาย โดยตรงทุกกลุ่ม
     5. ผลงานของผู้เข้าอบรม ยังขาดความเรียบร้อยอยู่มากอันเนื่องจากระยะเวลา และทักษะของแต่ละคน ตลอดจนยังขาดความระมัดระวังในการเปลี่ยนสีด้ายให้เข้ากับสีผ้า

ข้อเสนอแนะ

     1. ผู้ประสานงานควรคัดเลือกผู้เข้าอบรมที่มีทักษะ และความรู้พื้นฐานในด้านการตัดเย็บ โดยอาจแยกกลุ่มที่ไม่มีพื้นฐานให้ได้รับการอบรมในเบื้องต้นก่อน 
     2. ควรขยายเวลาในการอบรมมากขึ้น เพื่อให้สมาชิกกลุ่มฯ สามารถเรียนรู้ได้ครบถ้วน
     3. ผู้เข้าอบรมควรระมัดระวัง และใส่ใจในการเปลี่ยนสีด้ายให้สัมพันธ์กับผ้าที่ใช้
     4. ผู้เข้ารับการอบรมควรฝึกทำงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มทักษะให้กับตนเอง